เชิญครับ รับไม่อั้น
เท่าไรเท่ากันไม่หวั่นไหว
แล้วใครละที่เจ๊ง
********************
ในยุคสมัยที่การแข่งขันด้านการตลาดสูงอย่างนี้ โปรโมชันเรื่อง "บุฟเฟต์" หรือ จ่ายเงิน ณ จำนวนหนึ่งแล้วจะบริโภคได้ "ไม่จำกัดจำนวน" นั้น เริ่มมีความหลายหลายกระจายไปตามสินค้า / บริการต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิมที่มักเจาะจงแค่เรื่องของอาหารการกินเท่านั้นเท่าไรเท่ากันไม่หวั่นไหว
แล้วใครละที่เจ๊ง
********************
ถามกันเล่นๆ ในวงคนทำงานด้านการตลาดที่ไม่อยากนับว่าเป็น "กูรู" ว่า ไอเดียอย่างนี้ นับว่าเด็ดเจ็ดสี เจ็ดศอก หรือไม่ ต่างก็ให้ความเห็นแปลกแยกกันไป
ว่ากันถึงแบบ "คลาสสิก" ก่อนก็ต้องเรื่องอาหารการกิน บุฟเฟต์ระบาดมาจาก ค่าอาหารในโรงแรมที่ราคาแพงจี๊ดๆ เลยต้องแก้เกมด้วยการให้ "เหมาจ่าย" โดยมีสมมติฐานที่ว่า ปริมาณกระเพาะคนเรามีความจุประมาณ 1-1.5 ลิตร บวกกับความน่าจะเป็นของจำนวนคนที่จะกินจุนั้น มีน้อยกว่าคนปกติ ทำให้โรงแรมคุ้มที่จะเสี่ยง แถมได้เรื่องของภาพลักษณ์และความรู้สึกของลูกค้าว่า "โห มันช่างคุ้มอะไรเช่นนี้ั"
จากโรงแรมก็ส่งไม้ต่อให้กับฟาร์ตฟู้ดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า อาหารญี่ปุ่น แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ได้คิดก็คือ ทุกคนพยายามที่จะ"ตัก" มาเพื่อทานให้ได้มากที่สุด แถมคนส่วนใหญ่ มักประเิมินตัวเองเกินจริงทั้งนั้น สุดท้ายอาหารที่ตักมา ต้องเหลือแบบเละๆ ที่ต้องทิ้งหรือส่งเป็นอาหารหมูสถานเดียว ทำให้หลายที่ต้องคิดค่าปรับ กรณีกินไม่หมด ก็ได้ผลในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะพาลจะโดนลูกค้าด่าด้วย
จากเรื่องอาหารก็มาเห็นอีกทีในเรื่องโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ที่นักการตลาดประเภทสิ้นคิด แต่อ้างว่าลูกค้าคือ "บระเจ้า" (ไม่ได้พิมพ์ผิด แต่คนเหล่านี้มันไม่ใช่ พระเจ้า จริงๆ) ต้องการ ก็นำเสนอให้โทรกันได้ไม่อั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาแม้แต่น้อย
เพราะโปรโมชันอย่างนี้ ทำให้บ่มนิสัยบระเจ้าเหล่านั้น ขาดความยั้งคิดในการสื่อสาร คุยกันในเรื่องไร้สาระ เสียเวลาทำมาหากิน เพราะคิดกันไปว่า "ก็ตูจ่ายไปแล้วนี้หว่า ต้องโทรให้ได้มากที่สุด" กลายเป็นสันดานที่มีประโยชน์น้อยกว่าสันดอนไป
ผลลบที่ตามมา อย่างแรกที่ต้องเจอคือ เรื่องของความหนาแน่นในชุมสายที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความต้องการ (Demand) เทียม ต้องลงทุนขยายชุมสายเพิ่ม เอาล่ะ แม้จะอ้างได้ว่าสร้างงาน สร้างคน แต่ขอโทษ!! ค่าใช้จ่ายการลงทุนเหล่านี้มันคุ้มไหม มีลูกค้าที่มีความจำเป็นกี่คนที่ไม่สามารถโทรออกได้ เพราะลูกค้าอีกบางคนที่แช่สายจองไว้ เพียงแค่อยากได้ยินเสียงกรนจากปลายสายอีกทางแค่นั้น!! แล้วระยะยาวอัตราการใช้งานจริงจะเป็นเช่นไร
หลังจากกระหน่ำแคมเปญกันจนสุดท้ายโดนด่า ฐานลูกค้าที่โตกันอย่างกลวงๆ ก็หดหาย เพราะทำได้ไม่สมความคาดหวังของเหล่า "บระเจ้า" ก็ถึงคราวของอินเตอร์เน็ต 555 ห้าร้อยเก้าสิบ ไม่อั้น (ขอบคุณเจ้าสัวใจดี) เพราะตอนออกมา คิดว่าคนไทยจะเป็นสังคมอุดมปัญญา เข้าเว็ป เช็คเมล์ อ่านข่าว เรื่องโหลด เรื่องบิต คงไม่รู้จัก ไร้เดียงสากันขนาดนั้น แถมทำให้ทุกรายต้องเสนอเหมือนกันทั้งหมด
ทุกวันนี้ ไปถามหลายๆ คน ว่าพยายามจะใช้เน็ตอย่างไรให้คุ้ม คำตอบยอดฮิตไม่พ้น โหลด ๆๆๆๆ
แน่นอนครับ สักกี่คนที่จะโหลดกันอย่างถูกกฏหมาย ส่งผลให้เจ้าของลิขสิทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนัง เป็นเพลง เป็นซอร์ฟแวร์ ต้องควักเิิงินมาร้องแรกแหกกระเฌอกันจนเสียงแหบ คนที่แฮปปี็ก็คนขายแผ่น CD DVD เปล่า และการไฟฟ้าที่รายได้ขึ้นกันถ้วนหน้า
ทั้งหลายทั้งปวง สำหรับตัวผู้บริโภคเอง ถ้ามองแค่ประโยชน์จาก "บุฟเฟต์" เหล่านั้นแล้ว การพยายามที่จะ "สวาปาม" ให้ได้มากที่สุดนั้น เหมือนจะเป็นเรื่องชาญฉลาด แต่ชาติไม่เจริญ เพราะถ้ามองในภาพกว้างแล้ว มี "รายจ่าย" อื่นๆ อีกมากมายที่ต้องเสียไป ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ ที่อาจจะเป็นโรคกระเพาะคราก หรือท้องเสียได้ หรือ ค่าเสื่อมของอุปกรณ์ ค่าไฟ รวมถึงเวลาที่เอาไปใช้ทำอย่างอื่น อีกเยอะแยะ
ครับในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์แล้ว ประโยชน์ของโปรฯ เหล่านี้มันก็มีดี เช่น การทวีคูณของผู้ใช้งาน ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้น แต่ก็อยากให้นักการตลาด รวมถึงผู้บริโภคเหล่านั้นได้มองอย่างรอบคอบกว่านี้ เพราะสุดท้ายแล้ว จะไม่มีใึครได้อะไร "ไม่อั้น" อย่างที่คิดเลย